วันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2560

วิเคราะห์ข่าว

รัฐบาลเตือน! กลุ่มต้าน พ.ร.บ.คอมพ์ “คิดให้ดี” ก่อนนัดชุมนุม เสี่ยงผิดกฏหมาย



รัฐบาลเตือนกลุ่มต่อต้าน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คิดให้รอบคอบก่อนเคลื่อนไหวรวมตัว 2 จุด เสี่ยงผิดกฎหมาย พร้อมเตรียมบันทึกภาพผู้ชุมนุมเป็นหลักฐาน ย้ำรัฐมีคำตอบทุกข้อสงสัย มุ่งทำเพื่อประโยชน์ชาติ
พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่กลุ่มต่อต้าน พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ เตรียมตัวเคลื่อนไหวจัดกิจกรรมในช่วงบ่ายวันนี้ ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรม กทม. ว่า รัฐบาลขอเตือนว่า การรวมตัวดังกล่าวอาจเข้าข่ายการสร้างความไม่สงบเรียบร้อยขึ้นในบ้านเมือง จึงขอให้ผู้ที่จะไปร่วมกิจกรรมไตร่ตรองให้รอบคอบ หรือยุติการเคลื่อนไหว
“ทางการมีมาตรการรองรับเป็นอย่างดีหากมีการเคลื่อนไหว ตั้งแต่การบันทึกภาพเป็นหลักฐานและดำเนินการตามหลักสากล โดยประชาชนทั่วไปที่หวังดีต่อบ้านเมืองก็สามารถถ่ายรูปส่งให้กับเจ้าหน้าที่ได้ ทั้งนี้ ขอตั้งข้อสังเกตว่าผู้ที่ต่อต้าน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เริ่มทำเกินขอบเขตที่เหมาะสม เพื่อหวังปลุกกระแสให้เกิดความวุ่นวายด้วยการละเมิดกฎหมาย และตั้งตัวเป็นนักเลงแฮ็กและล้วงข้อมูลเสียเองแล้ว”
พลโท สรรเสริญ กล่าวยืนยันว่า มีบุคคลบางกลุ่มพยายามที่จะแฮ็กข้อมูลของส่วนราชการจริง แม้จะทำไม่สำเร็จ นี่จึงเป็นตัวอย่างของภัยคุกคามที่จำเป็นต้องปรับปรุงกฎหมายคอมพิวเตอร์ ส่วนเว็บไซต์ของหน่วยงานที่สำคัญอย่าง สตม.นั้นไม่ได้ถูกแฮ็กตามที่มีกระแสข่าว เนื่องจากเป็นระบบปิดที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต เช่นเดียวกับการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) กรมศุลกากร หน่วยงานความมั่นคง ท่าอากาศยาน และสายการบินต่าง ๆ ซึ่งกลุ่มผู้ไม่หวังดีและประชาชนทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงได้ ดังนั้นการกล่าวอ้างของกลุ่มแฮ็กเกอร์ว่าสามารถแฮ็กระบบของ สตม.ได้ จึงเป็นเพียงการสร้างข่าวความสับสนให้กับสังคม และลดทอนความน่าเชื่อถือของหน่วยงานราชการเท่านั้น

รัฐบาลขอเรียนชี้แจงอีกครั้งว่า ไม่มีนโยบายซิงเกิ้ลเกตเวย์ เพราะเกตเวย์ของไทยมีการเชื่อมต่อข้อมูลอย่างมากมายมหาศาล การจะบังคับให้ทุกส่วน รวมถึงภาคเอกชนใช้รวมกันที่เดียวคงไม่สามารถทำได้ และยังขัดกับแนวทางที่รัฐบาลต้องการส่งเสริมเทคโนโลยีดิจิทัลทุกรูปแบบเพื่อก้าวไปสู่ยุคไทยแลนด์4.0 นอกจากนี้ การให้บริการทางเทคนิคจำเป็นต้องมีเกตเวย์สำรองไว้หลาย ๆ เส้น ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่อินเทอร์เน็ตจะล่มทั้งประเทศ
กรณีการถูกจำกัดการเข้าถึงเว็บบางเว็บ โดยหลักสากลทุกประเทศจะมีข้อแนะนำกับประชาชนว่า เว็บใดเป็นเว็บที่มีความเสี่ยงต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศและประชาชน ส่วนการเข้าถึงเว็บต่างประเทศได้หรือไม่ได้นั้น ขึ้นอยู่กับท่ออินเทอร์เน็ตของผู้ให้บริการแต่ละราย ซึ่งทุกบริษัทจะดูแลลูกค้าของตนเป็นอย่างดี ไม่มีการจำกัดการเข้าถึงเว็บอย่างแน่นอน
สำหรับการตรวจสอบข้อมูลหรือปิดเว็บไซต์นั้น หากเป็นเรื่องที่กระทำผิดกฎหมาย ขัดต่อหลักศีลธรรม ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ และการพัฒนาเศรษฐกิจ รัฐบาลอาจขอดูการจราจรของข้อมูล (Traffic) เฉพาะเรื่องไป ไม่ใช่การรวมศูนย์มาอยู่ที่เดียว และการตัดสินใจของรัฐบาลไม่ได้เกิดโดยลำพัง แต่จะต้องผ่านคณะกรรมการกลั่นกรอง 9 คน และการพิจารณาของศาลก่อนทุกกรณี ดังนั้น การที่จะเข้าไปควบคุมหรือดักจับข้อมูลของประชาชนจึงไม่ใช่แนวทางของรัฐบาลอย่างแน่นอน
การวิเคราะห์
กลุ่มคนลุกขึ้นมาทำการต่อต้านแนวทางการทำซิงเกิ้ลเกตเวย์ของหน่วยงานรัฐบาล เพราะเป็นการที่ปิดกั้นข้อมูลที่มาจากหลากหลายแหล่ง ให้เหลือช่องทาง้เียวที่สามารถตรวจสอบได้ อาจจะทำให้ประชาชนถูกลวงละเมิดทางข้อมูลและนำไปสู่การดำเนินการตามคดีความผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 

แหล่งที่มา:http://news.sanook.com/2132662/


วันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2560

แบบทดสอบ ม.5/4

1.ทรัพย์สินทางปัญญา

ตอบ      ทรัพย์สินทางปัญญา หมายถึง ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทรัพย์สินอีกชนิดหนึ่ง นอกเหนือจากสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น นาฬิกา รถยนต์ โต๊ะ เป็นต้น และอสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น บ้าน ที่ดิน เป็นต้น


2.ลิขสิทธิ์ กับ สิทธิบัตร แตกต่างกันอย่างไร

ตอบ     ลิขสิทธิ์ คือ งานสร้างสรรค์ประเภทวรรณกรรม นาฎกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียงงานแพร่เสียงแพร่ภาพหรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดีแผนกวิทยาศาสตร์หรือแผนกศิลปะของผู้สร้างสรรค์ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด หรือจะพูดง่ายๆก็คือลิขสิทธิ์ เป็นผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะของมนุษย์นั่นเอง

                สิทธิบัตร คือ หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ จะแปลง่ายๆก็คือไม่ว่าเราจะคิดค้นสูตรอาหาร หรือประดิษฐ์อะไรขึ้นมาก็ตาม หากเราต้องการที่จะคุ้มครองสูตรหรือกระบวนการผลิตของเรา ก็สามารถนำสูตรหรือกระบวนการผลิตนั้นไปจดสิทธิบัตรเพื่อให้เกิดความคุ้มครองได้


            สรุปก็คือเครื่องหมายการค้าจะใช้เพื่อแสดงว่าสินค้าเป็นของใคร ลิขสิทธิ์จะใช้ในงานศิลปะ และสิทธิบัตรจะใช้สำหรับสูตรหรือกระบวนการผลิต  เมื่อรู้เช่นนี้แล้วก็จะสามารถแบ่งแยกได้แล้วว่าอย่างไหนจะเป็นเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิบัตร 

3.เครื่องหมายการค้า หมายถึงอะไร?

ตอบ  เครื่องหมายการค้า (อังกฤษTrademark) หมายถึง ตราสินค้าหรือส่วนหนึ่งของตราสินค้า เพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น เจ้าของมีสิทธิตามกฎหมายเพียงผู้เดียว เราไม่สามารถใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นและบุคคลอื่นก็ไม่สามารถใช้เครื่องหมายการค้าของเราได้ เว้นแต่จะมีสัญญาและข้อตกลงต่อกัน (เช่นการควบกิจการ) สัญลักษณ์อาจจะประกอบไปด้วย ชื่อ ข้อความ วลี สัญลักษณ์ ภาพ งานออกแบบ หรือหลายส่วนร่วมกัน โดยมีความหมายทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเครื่องหมายแสดงถึง ชื่อสินค้าเฉพาะอย่าง หรือทุกประเภทในเครื่องหมายการค้าจะเป็นการแสดงภาพเครื่องหมาย ชื่อ ตราสัญลักษณ์เพื่อแสดงถึง อ้างถึง มีความหมายถึงสิ่งใด ๆ ก็ตามที่มีความเกี่ยวข้องกัน








4.พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปี 2560 มี 13 ข้อ อะไรบ้าง

ตอบ 1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

             2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
            3. ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
            4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม
            5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
            6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด
           7.สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด
           8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้
            9. การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ
           10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย
           11. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
           12. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ

           13. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้ 


5.ข่าวที่เกี่ยวกับการกระทำผิด พรบ.คอมพิวเตอร์


 24 ธ.ค. 59 - หลังจากเพจพลเมืองต่อต้าน Single Gateway : Thailand Internet Firewall #opsinglegateway ประกาศทำสงครามไซเบอร์กับร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับใหม่ โดยบอกว่า จะมีการยกระดับปฏิบัติการด้วยการเยี่ยมบ้าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พร้อมกันนี้ยังจะทำการเปิดเผยข้อมูลการใช้งบประมาณบางหน่วยงานในกองทัพบก เป็นเวลา 3 วัน คือ วันที่ 23, 26 และ 27 ธ.ค. นี้ ในช่วง 20.00 น.

ล่าสุด วานนี้ (23 ธ.ค.) เวลา 20.09 น. กลุ่มพลเมืองต่อต้านซิงเกิ้ล เกตเวย์ฯ ก็ได้โพสต์ข้อความบนเพจ เพื่อยืนยันถึงการปฏิบัติการในครั้งนี้ โดยบอกว่า สามารถเจาะเข้าระบบบ้านหลังเล็กของ พล.อ.ประยุทธ์ ได้แล้ว พร้อมชี้ช่องให้เหล่าแฟนเพจสังเกตตัวเลข 184, 224 และ 4 ล้าน ซึ่งอ้างว่าเป็นข้อมูลการจัดสรรงบประมาณการลงทุน

ต่อมา ในช่วงเวลา 23.30 น. ได้โพสต์ข้อความอีกว่า จะมีการรอดูท่าทีและคำตอบจากรัฐบาลในวันอังคารที่ 27 ธ.ค. นี้ พร้อมบอกว่า ที่ผ่านมาเป็นเพียงการเตือนแบบแรง ๆ เท่านั้น ยังไม่ใช่การลงมืออย่างรุนแรงเฉียบพลัน ซึ่งที่ทำไปไม่ได้เพื่อทำลายล้าง นอกจากนี้ ยังมีการส่งสารถึง พล.อ.ประยุทธ์ อีกว่า หากไม่ตัดสินใจแก้ปัญหาในตอนนี้ กลุ่มพลเมืองต่อต้านซิงเกิ้ลเกตเวย์ฯ จะมีการยกระดับปฏิบัติการขึ้นเรื่อย ๆ